วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

วัฒนธรรม


   วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม
        วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่นวัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด

วัฒนธรรมประเทศมองโกเลีย



           ประเทศมองโกเลีย (อังกฤษ: Mongolia; มองโกเลีย: Монгол Улсเป็นประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศคาซัคสถาน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่าร้อยละหนึ่ง  มองโกเลียมีประชากรเพียง 3 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า 3 เท่า ซึ่งทำให้ประเทศมองโกเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต และประชากรร้อยละ 38 อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตรอร                      ความเป็นมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวนแต่ก็ต้องมาเสียอำนาจเมื่อราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจซึ่งทางมองโกเลียเองต้องอยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ดังกล่าวอีกด้วย มองโกเลียได้รับเอกราชจากจีนเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จากการช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตแต่ต้องสถาปนาการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตามแบบประเทศเพื่อนบ้าน ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงจากมองโกเลียเมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ปีเดียวกันกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมามองโกเลียได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้กับตน
เทศกาลประจำปีนาดัม 
      ชาวมองโกเลียนับพันคนรวมตัวกันในเมืองเล็กๆอย่างซูนม๊อด ของจังหวัดเทิฟ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลประจำปีนาดัม (Naadam festival) ประเพณีเก่าแก่ที่มีการแข่งม้า,มวยปล้ำและยิงธนู โดยม้า 70 ตัวพร้อมด้วยจ๊อกกี้ ซึ่งส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ ได้เข้าร่วมการแข่งม้าระยะทางไกลกว่า 10 กิโลเมตร ท่ามกลางกองเชียร์ที่ส่งเสียงโห่ร้องยินดีเมื่อผู้ชนะเข้าสู่เส้นชัย ในการแข่งขันนี้เหล่าม้ามองโกเลียได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมได้ แม้ว่าจะมีขนาดลำตัวสั้นและวิ่งช้ากว่าม้าอาหรับ ชาวมองโกเลียเชื่อกันว่าฝุ่นที่ฟุ้งกระจายจากพื้นดินอันเกิดจากการกระทบของเกือกม้านั้นถือเป็นโชคดี 

          นอกจากการแข่งม้าแล้วยังมีการแข่งขันมวยปล้ำ โดยชายชาวมองโกเลียแต่งกายแบบนักมวยปล้ำมาเต้นเพื่อโชว์ศักยภาพของร่างกาย จากนั้น พวกเขาต่างขะมักเขม้นกับการล้มคู่ต่อสู้ ปกติแล้วการจัดอันดับของผู้ชนะนั้นจะแบ่งเป็นเหรียญทอง เงิน และทองแดง แต่ในการแข่งขันที่นี่กลับจัดประเภทให้อันดับหนึ่งเป็นรางวัลสิงโต อันดับสองเป็นช้างและอันดับสามคือเหยี่ยว

อย่างไรก็ตาม การแข่งม้าและมวยปล้ำเป็นกีฬาที่นิยมในมองโกเลีย โดยชาวมองโกเลียวัย 72 ปีรายหนึ่ง กล่าวว่า มีความสุขกับเทศกาลนาดัมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแข่งม้า เพราะไม่เพียงแค่ตื่นเต้นเร้าใจ แต่การแข่งขันดังกล่าวยังนำโชคดีมาถึงชาวมองโกเลียด้วย


วัฒนธรรมประเทศญี่ปุ่น


         วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชียยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ เช่น อิเกะบะนะ (การจัดดอกไม้) โอะริงะมิอุกิโยะ-เอะตุ๊กตาเครื่องเคลือบเครื่องปั้นดินเผา การแสดง เช่น คะบุกิโน บุนระกุระกุโงะและประเพณีต่าง ๆ เช่น การละเล่น พิธีชงชาศิลปการต่อสู้สถาปัตยกรรมการจัดสวนดาบ และอาหาร การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์มังงะหรือหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมากตั้งแต่ พ.ศ. 2523
ดนตรี
         ดนตรีญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมข้างเคียงเช่นจีนและคาบสมุทรเกาหลี รวมทั้งจากโอะกินะวะและฮกไกโด ตั้งแต่โบราณ เครื่องดนตรีหลายชิ้น เช่น บิวะโคะโตะ ถูกนำเข้ามาจากจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ และชะมิเซ็งเป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงจากเครื่องดนตรีโอะกินะวะซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่กลางพุทธศตวรรษที่ 21ญี่ปุ่นมีเพลงพื้นบ้านมากมาย เช่นเพลงที่ร้องระหว่างการเต้นบงโอะโดะริ เพลงกล่อมเด็ก ดนตรีตะวันตกเริ่มเข้ามาในต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม หลังสงคราม ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางด้านดนตรีสมัยใหม่จากอเมริกาและยุโรปเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวดนตรีที่เรียกว่า เจ-ป็อป ญี่ปุ่นมีนักดนตรีคลาสสิคที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น วาทยากรเซจิ โอะซะวะนักไวโอลินมิโดะริ โกะโต เมื่อถึงช่วงสิ้นปี จะมีการเล่นคอนเสิร์ตซิมโฟนีหมายเลข ของเบโทเฟนทั่วไปในญี่ปุ่น
1. โคโตะ

2. ซามิเซ็ง

วัฒนธรรมประเทศเกาหลีเหนือ



          สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (อังกฤษ: Democratic People's Republic of Korea: DPRK) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (อังกฤษ: North Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมรกหรือยาลู และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย
คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น พ.ศ. 2448 และถูกแบ่งเป็นเขตยึดครองโซเวียตและอเมริกาใน พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ เกาหลีเหนือปฏิเสธจะเข้าร่วมการเลือกตั้งที่สหประชาชาติอำนวยการ ซึ่งจัดที่กรุงโซลใน พ.ศ. 2491 และนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลเกาหลีแยกในเขตยึดครองทั้งสอง ทั้งเกาหลีเหนือและใต้ต่างอ้างอธิปไตยเหนือคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และนำไปสู่สงครามเกาหลีใน พ.ศ. 2493 ความตกลงสงบศึกชั่วคราว พ.ศ. 2496 ยุติการสู้รบ อย่างไรก็ดี ทั้งสองยังถือว่าอยู่ในภาวะสงครามต่อกันและกันอย่างเป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพแต่อย่างใด ทั้งสองรัฐได้รับการยอมรับเข้าสู่สหประชาชาติใน พ.ศ. 2534
       พิพิธภัณฑ์โครยอ (Koryo Museum 丽博物馆ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองแคซองไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ กิโลเมตร .. สถานที่แห่งนี้ในสมัยอาณาจักรโครยอเคยเป็นสำนักการศึกษาชั้นสูงในลัทธิขงจื้อ (แต่เดิมเค้าเรียกว่า  丽成均馆แต่ปัจจุบันก็ได้ดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับแสดงโบราณวัตถุและสิ่งที่สะท้อนถึงร่องรอยอารยธรรม รวมไปถึงความเชื่อในสมัยอาณาจักรโครยอ

       หอปรัชญาจูเช่ สร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1982 เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านผู้นำ (คิม อิลซุง) เนื่องในวาระครบรอบวันเกิด 70 ปีของท่าน หอปรัชญาจูเช่มีความสูง 170 เมตร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแทดอง โดยอยู่ตรงข้ามกับจัตุรัสคิม อิลซุง (Kim Il Sung Square 金日成广หอปรัชญาจูเช่ก็นับเป็น landmark ที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งของกรุงเปียงยาง
จูเช่ (Juche 
主体แปลว่า ส่วนสำคัญ หลักสำคัญ หรือ Main Stream เป็นปรัชญาทางการเมืองที่ท่านคิมอิลซุงใช้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศ โดยแนวคิดนี้จะเน้นถึงการมีจุดยืนที่เป็นอิสระ มีจิตวิญญาณที่ที่เน้นการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เกาหลีเหนือจะไม่พึ่งพาประเทศอื่น ปฏิเสธระบบทุนนิยม
นอกจากนี้ปัญญาชนชาวเกาหลีเหนือจะต้องรู้เรื่องของประเทศตนเองอย่างลึกซึ้ง ไม่เป็นทาสความคิดเดิม (ควรมีความคิดสร้างสรรค์ และริเริ่มนวัตกรรม) ไม่พึ่งพาความคิดจากภายนอก อิสระจากการครอบงำ เกาหลีเหนือจะเจริญได้ต้องติดอาวุธทางปัญญาตามแนวปรัชญาจูเช่ให้กับประชาชน และประชาชนจะต้องมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง ซึ่งปรัชญานี้จะยกย่องว่าการที่ประเทศเจริญรุดหน้าไปได้ก็ด้วยอัจฉริยภาพของท่านคิมอิลซุงที่ประเทศอื่นทั่วโลกควรเอาเป็นแบบอย่าง 

วัฒนธรรมประเทศเกาหลีใต้


         ประเทศเกาหลีเป็นคาบสมุทรที่ทอดตัวลงใต้จากศูนย์กลาง ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย คาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยพื้นที่ประมาณ 220,000 ตารางกิโลเมตรกับเกาะใหญ่น้อยประมาณ 3,400 เกาะเรียงรายตลอดชายฝั่ง

           ณ เวลานี้ประเทศเกาหลีเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงถูกแบ่งแยกตามภูมิศาสตร์ และลัทธิการปกครอง มีประชากรทั้งหมดประมาณเจ็ดสิบล้านคนทั้งในประเทศเกาหลีเหนือและใต้ และไม่นานมานี้เองที่มีความก้าวหน้าที่เด่นชัดหลายประการในการร่วมมือและรวมประเทศเข้าด้วยกัน

             คำว่า "เกาหลี" นี้ใช้อ้างอิงทั้งประเทศเกาหลีเหนือและใต้ ประเทศเกาหลีใต้ ณ ที่นี้ หมายถึงสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งมีประชากร 48 ล้านคนในจำนวนนี้ 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโซลซึ่งเป็นเมืองหลวง กรุงโซลนั้นประการศักดาว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน 600 ปี และในปี 1988 ก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่าเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดู ร้อนครั้งที่ 24 ประเทศเกาหลีเป็นเป้าแห่งความสนใจจากทั่วโลกอีกครั้งเมื่อได้เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับประเทศญี่ปุ่นในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2002
             ประเทศเกาหลีมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชาวเกาหลีเองได้เรียกผืนแผ่นดินแห่งนี้ว่า คึมซูกังซาน (geumsugangsan) หรือ "ผืนพรมทองแห่งแม่น้ำและภูเขา" ความน่าพิศวงของผืนแผ่นดินนี้ถ่ายทอดผ่านแต่ละช่วงฤดูกาลด้วยทัศนียภาพที่ แตกต่างกันไป ภูมิอากาศของเกาหลีซึ่งแบ่งออกเป็นฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวนั้นมีความแตกต่างกันมากทีเดียว คือช่วงฤดูหนาวโดยปกติจะกินเวลายาวนาน ฤดูร้อนสั้นกว่า และฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สั้นที่สุด ช่วงเวลาฝนตกจะเป็นระหว่างฤดูร้อนในช่วงเดือนมิถุนายน

              ชุดแต่งกายตามประเพณีของชาวเกาหลีคือ ฮันบก (Hanbok) ชุดที่ใช้แต่งกายในฤดูหนาวนั้นใช้ผ้าที่ทอจากฝ้ายและกางเกงยาวที่มีสายรัด ที่ข้อเท้าซึ่งช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็งหรือผ้ารามีซึ่งช่วยในการซึมซับ และการแผ่ซ่านของความร้อนในร่างกายให้มากที่สุด

               อาหารเกาหลีก็ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบรับกับภูมิอากาศ ในภูมิภาคที่ฤดูหนาวกินเวลานาน เทคนิคการถนอมอาหารพิเศษได้ถูกวิวัฒน์ขึ้นเพื่อเก็บรักษาวิตามินในสูตรอาหาร ประเภทผัก กิมจิเป็นตัวอย่างอันเป็นสัญลักษณ์ของอาหารหมักดอง ความจริงที่ว่ากิมจิจะมีรสเค็มขึ้นถ้าใครนำมันจากทางเหนือที่หนาวเย็นมาสู่ ทางใต้ที่อบอุ่นกว่านั้นเป็นเกี่ยวข้องกันมากกับลักษณะของอากาศ


               อิทธิพลของภูมิอากาศยังบ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันของเกาหลี บ้านแบบเกาหลีจะมี ออนดอล (Ondol) ซึ่งทำปฏิกิริยาภายใต้พื้นเพื่อช่วยเพิ่มความร้อนฤดูหนาว และโดยทั่วไปบ้านจะมีหลังคาต่ำ มีห้องเล็กและผนังหนา มีหน้าต่างและประตูเปิดสู่ภายน้อยซึ่งมักจะทำเป็นสองชั้น บ้านเกาหลีโบราณจะมีห้องโถงเปิดพื้นเป็นไม้ซึ่งสมาชิกในครอบครัวจะใช้เวลา ส่วนใหญ่ที่นี่ในช่วงฤดูร้อน ห้องสำหรับอยู่อาศัยนั้นโดยปกติจะอยู่กลางบ้านใหญ่ ห้องรับแขกจะอยู่อีกหลังต่างหาก ห้องครัวก็สร้างเป็นหลังต่างหากและถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลายอย่างนอกจากการ ปรุงอาหารเพียงอย่างเดียว

               เป็นเวลาไม่นานมานี้เองที่เศรษฐกิจของ เกาหลีได้ถูกปฏิรูปไปเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ปี 1960 เกาหลีได้เปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมเป็นแบบอุตสาหกรรมที่รุดหน้าขึ้น อย่างรวดเร็ว มีการปฏิวัติแปรเปลี่ยนไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การต่อเรือ การคมนาคม และยานยนต์ซึ่งเป็นแบบอย่างของการพัฒนาประเทศไปทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการคมนาคมและสารสนเทศนั้นเกาหลีในวันนี้ยืนอยู่แถวหน้า ของโลก

               ชาวเกาหลีได้สร้างวัฒนธรรมที่โดดเด่นผ่านช่วงประวัติศาสตร์ อันยาวนานและมรดกทางวัฒนธรรมอันเด่นเฉพาะตัวก็สามารถพบได้ตลอดคาบสมุทร ชาวเกาหลีให้คุณค่ากับการเรียนรู้และมีชื่อเสียงมากในการอุทิศตนและความมุ มานะอุตสาหะ บางทีอาจเป็นเพราะลักษณะเหล่านี้ก็ได้ที่ทำให้พวกเขาสามารถใช้แรงกระตุ้นทาง วัฒนธรรมซึ่งนำมาประยุกต์อย่างถี่ถ้วนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

วัฒนธรรมประเทศจีน



           ประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น  ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน  รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
          วัฒนธรรมจีนการเรียกชื่อสกุลของชาวจีนตรงกันข้ามกับภาษาไทย คือเรียกต้นด้วยชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ และเพื่อนสนิท โดยปกติชาวจีนมักไม่ทักทาย ด้วยการจับมือหรือจูบเพื่อร่ำลา
           สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ชาวจีนมีเครือข่ายคนรู้จัก ( เหมือนกับการมีเส้นสายในไทย ) กล่าวกันว่าชาวจีนที่ไร้เครือข่ายคนรู้จัก เป็นผู้ที่เป็นจีนเพียงครึ่งเดียว จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักกับผู้คนชาวต่างชาติ ซึ่งทำธุรกิจในประเทศจีน ดังนั้นควรให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมนี้ด้วยการเชื้อเชิญ
            ภาษาแมนดารินเป็นภาษาราชการ และมีภาษาท้องถิ่นอีกจำนวนมาก เช่น ภาษากวางตุ้ง แต้จิ๋ว เซี่ยงไฮ้ แคะ ฮกเกี้ยน เสฉวน หูหนาน ไหหลำ เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีนแบบย่อ (Simplified Chinese) มีอักษรทั้งหมด 56,000 ตัว ใช้ประจำ 6,763 ตัว ถ้ารู้เพียง 3,000 ตัว ก็อ่านหนังสือพิมพ์และทั่วไปได้
วันหยุดของประเทศจีน

1 มกราคม : วันขึ้นปีใหม่

กุมภาพันธ์ : วันตรุษจีน ( กำหนดวันในแต่ละปีไม่ตรงกัน )

8 มีนาคม : วันสตรีสากล

1 พฤษภาคม : วันแรงงานสากล

4 พฤษภาคม : วันเยาวชน

1 มิถุนายน : วันเด็ก

1 กรกฎาคม : วันก่อตั้งพรรคคอมมินิสต์

1 สิงหาคม : วันก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชน

1 ตุลาคม : วันชาติ (สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ภายหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ จีนมีชัยชนะในสงครามกลางเมืองเหนือพรรคก๊กหมินตั๋ง)
อาหารจีน  
          ศิลปะและมาตรฐานการปรุงอาหารจีนจัดว่ามีชื่อเสียงในระดับโลก จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าอาหารจีนมีมากกว่าหมื่นชนิดและมีวิธีการปรุงอาหารมีมากกว่า 40 วิธีตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์จีน อาหารในภูมิภาคต่างๆ ก็ค่อยๆ พัฒนาจนกลายเป็นอาหารประจำท้องถิ่นที่มีรสชาติเฉพาะตัว อาหารประจำท้องถิ่นที่โดดเด่นมีอยู่ กลุ่มด้วยกัน คือ อาหารซานตง อาหารเสฉวน อาหารกวางตุ้ง อาหารเจียงซู อาหารเจ้อเจียง อาหารฮกเกี้ยน อาหารหูหนานและอาหารอานฮุน อาหารจีนในกลุ่มอาหารท้องถิ่นทั้ง ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เป่ยจิงข่าวยา(เป็ดปักกิ่ง) ฝัวเที่ยวเฉียง(พระกระโดดกำแพง) กงเป่าจีติง(ไก่ผัดเผ็ด) โค่วโจ่วจึ(ขาหมูนึ่งซีอิ๊ว) หลงจิ่งซยาเหริน(ผัดกุ้งแช่ชาหลงจิ่ง) หมาผอโต้วฝุ(ผัดเผ็ดเต้าหู้คุณยาย) ซีหูชู่อี๋ว์(ปลาซีหูเปรี้ยวหวาน) ซยาเหรินหนิวหลิ่ว(ผัดกุ้งกับเนื้อวัวแผ่น)และซ่วนโร่วหั่วกัว(เนื้อจิ้มจุ่มหม้อไฟ) เป็นต้น
   "เจี่ยวจือ" หรือเกี๊ยวเป็นอาหารที่มีความเป็นมากว่าพันปี เกี๊ยวเป็นอาหารที่คนจีนนิยมรับประทานกันมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลตรุษจีน การรับประทานเกี๊ยวในเทศกาลตรุษจีนถือเป็นประเพณีปฏิบัติในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจีน


     "หยวนเซียว" หรือบัวลอยสอดไส้แบบจีนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ทังหยวน" หยวนเซียวเป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว โดยนำแป้งข้าวเหนียวมาปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วสอดไส้หวานไว้ข้างใน เนื่องจากหยวนเซียวมีรูปร่างเหมือนพระจันทร์ ทั้งการดื่มน้ำของขนมหยวนเซียวร้อนๆ ยังเป็นการคลายความหนาวได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้นหยวนเซียวจึงถือเป็นขนมประจำเทศกาลหยวนเซียวซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้าย และเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของคำว่า "ถวนหยวน" ซึ่งหมายถึงการกลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน

ตะเกียบ
      ไคว่จึ หรือ ตะเกียบนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าอย่างหนึ่งของจีน ทั้งยังเป็นอุปกรณ์ในการรับประทานอาหารที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในระดับโลก ตะเกียบได้รับการขนานนามจากชาวตะวันตกว่าเป็น "อารยธรรมของโลกตะวันออก" คนจีนเริ่มใช้ตะเกียบตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซางหรือนานกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ในยุคก่อนราชวงศ์ฉิน ตะเกียบมีชื่อเรียกว่า "" (jiāจยา) ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่นเรียกตะเกียบว่า "" (zhù, จู้) แต่เนื่องจากคนจีนสมัยโบราณเชื่อถือเรื่องโชคลาง จึงถือว่าคำว่า "จู้" ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่า "" (zhù, จู้) ที่หมายถึง หยุด มีความหมายไม่เป็นมงคล ดังนั้นจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "" (kuài, ไคว่) ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า "เร็ว" แทน และนี่ก็คือที่มาของชื่อเรียกของตะเกียบในภาษาจีน

ผู้จัดทำ


จัดทำโดย
1. นางสาวจุตรีมาส                 สมดอกแก้ว     เลขที่ 16
2. นางสาวเบญญาภา               บุรินทร์            เลขที่ 17
3. นางสาวสุนิสา                     มาสงค์             เลขที่ 19
4. นางสาวอรพรรณ                 บุรกรณ์            เลขที่ 20
5. นางสาวนัยนา                      นัยเนตร           เลขที่ 26
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6
เสนอ
อาจารย์ โสภา  พิเชฐโสภณ
โรงเรียนสตรีสิริเกศ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28
อำเภอเมือง  จังหวัดศรีสะเกษ